-
ชื่อเรื่องภาษาไทยแนวทางการเสริมสร้างความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานตามแนวพุทธจิตวิทยา
- ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษA Strengthening guideline of the Bodhisattva on the Ethical base of Mahayana buddhism On Buddhist Psychology
- ผู้วิจัยพระปรีชา เถี่ยนกือ (โพธิ์เงิน)
- ที่ปรึกษา 1พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ, ผศ. ดร.
- ที่ปรึกษา 2ผศ. ดร.สมโภช ศรีวิจิตรวรกุล
- วันสำเร็จการศึกษา23/05/2018
- ส่วนงานจัดการศึกษา:
- ชื่อปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (พธ.ด.)
- ระดับปริญญาปริญญาเอก
- สาขาวิชาพุทธจิตวิทยา
- URI http://e-thesis.iteam.co.th/thesis/977
- ปรากฏในหมวดหมู่ดุษฎีนิพนธ์
- ดาวน์โหลด 669
- จำนวนผู้เข้าชม 292
บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการเสริมสร้างความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานตามแนวพุทธจิตวิทยา เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานตามแนวพุทธจิตวิทยา และเพื่อนำเสนอแนวทางการเสริมสร้างความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหา ยานตามแนวพุทธจิตวิทยา เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านสาขาวิชาต่างๆ จำนวน 13 ท่าน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ศรัทธา บารมี 6 ปณิธาน 4 และ อุดมการณ์ 3 เป็นหลักธรรมที่สามารถนำพามนุษย์ไปสู่แนวทางความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานได้ ความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานตามแนวพุทธจิตวิทยา จริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานมีแนวคิดหลักอยู่ที่เรื่องความกรุณาต่อสรรพชีวิตที่จะต้องมีทั้งปัญญาและกรุณาควบคู่กันไปจึงจะสามารถบรรลุโพธิภาวะได้ ถือเป็นเอกลักษณ์ของฝ่ายมหายาน และแนวทางการเสริมสร้างความเป็นโพธิสัตว์บนฐานจริยธรรมของพระพุทธศาสนามหายานตามแนวพุทธจิตวิทยาใช้กลวิธีการสอนและการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบิร์กมาพัฒนาเป็นกระบวนการสอน ได้แก่ 1) การประเมินการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมเรื่อง ศรัทธา เป้าหมายความเป็นโพธิสัตว์ บารมี 6 อุดมการณ์ 3 และปณิธาน 4 2) ดำเนินการสอนได้โดยอุบายและกลวิธีการสอนเพื่อให้พุทธศาสนิกชนจึงให้นำกลับไปปฏิบัติ และ 3) ติดตามผลด้วยการประเมินการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม
บทคัดย่อภาษาอังกฤษ
The study aimed to study concepts, theories and principles of strengthening Mahayana Buddhism-based Bodhisatava based on Buddhist Psychology; to analyze and synthesize Mahayana Buddhism-based Bodhisatava based on Buddhist Psychology; and to propose the strengthening ways of Mahayana Buddhism-based Bodhisatava based on Buddhist Psychology. The study was qualitative in nature collected data from 13 key informants and focus group discussion with 13 specialists. Results of the study found that a faith, 6 Perfections, 4 Determinations and 3 Idealisms were the doctrines leading human beings to Budhisatava as Mahayana Buddhism-based Bodhisatava based on Buddhist Psychology, Mahayana Buddhism-based Bodhisatava based on Buddhist Psychology was generally based on the principle of kindness to living things with both a wisdom and kindness to enlighten Bodhisatava which was Mahayana’s idetification, and the strengthening ways of Kolberg’s ethical reasons to develop the teaching process from the following steps 1) to assess the ethical reasons of faith, Bodhisatava’s goal, 6 Perfections, 3 Idealisms and 4 Determinations, 2) to teach using techniques and ways so that Buddhists could act, and 3) to follow-up by assessing ethical reasons.
รายการไฟล์
ชื่อ | ไฟล์ | ขนาด | ประเภทไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่ทำรายการ | |
---|---|---|---|---|---|---|
Full Text | Full Text.pdf | 12.03 MiB | 669 | 23 มิ.ย. 2564 เวลา 04:21 น. | ดาวน์โหลด |